ระทึกค่อนคืน! ไฟป่าโหมไหม้ดอยนางแล ลามหวิดเผาหมู่บ้าน ต้องระดมดับ 6 ชม.ถึงเอาอยู่

สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เชียงรายยังคงทวีความรุนแรงต่อเนื่อง เกิดขึ้นในหลายจุด เช่น อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อุทยานแห่งชาติแม่ปืม เขต อ.เมืองเชียงราย ดอยสะโง้ อ.เชียงแสน อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อ.พาน และพื้นที่ อ.แม่สรวย อ.เวียงป่าเป้า ฯลฯ

ล่าสุดคืนที่ผ่านมา (29 มี.ค. 66) ได้เกิดไฟป่าบนเทือกเขาดอยนางแลรอยต่อระหว่าง ต.ท่าสุด-ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย โดยไฟได้ลุกไหม้เป็นบริเวณกว้างนับร้อยไร่ และลุกลามเข้าใกล้บ้านพลูทอง หมู่ 11 ต.ท่าสุด ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังกันนำรถดับเพลิงจากพื้นที่ใกล้เคียงเข้าสกัดกันค่อนคืน โดยใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงจึงควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ไฟลามเผาไหม้บ้านเรือนได้

ขณะที่นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์เหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน (ศบก.ไฟป่า) ส่วนหน้า จ.เชียงราย ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เร่งป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำความผิด “ห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดโดยเด็ดขาดช่วง 60 วัน ปลอดการเผา” วันที่ 15 ก.พ.-15 เม.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่มีการประกาศห้ามเผา มีคดีความเกิดขึ้นแล้ว 15 คดี อยู่ในป่าอนุรักษ์จำนวน 9 คดี ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 6 คดี โดยเป็นคดีที่จับกุมผู้กระทำผิดได้ 5 คดี เกิดขึ้นในท้องที่ อ.แม่สรวย 2 คดี อ.เมืองเชียงราย อ.แม่ลาว และ อ.พาน อำเภอละ 1 คดี มีคดีร้องทุกข์กล่าวโทษแต่ยังจับตัวไม่ได้ 10 คดี

ที่มา : https://mgronline.com/local/detail/9660000029527

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ระวัง! ออกกำลังกายในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
สสจ.เชียงราย เตือนประชาชนรับมือค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง แนะ “รู้ – ลด – เลี่ยง” ป้องกันผลกระทบสุขภาพ
“ศิลป์ ล่องกอง” | 21 มีนาคมนี้ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเมืองเชียงราย
เชียงรายเปิดโครงการ “Kick Off ชิงไถ ลดการเผา” เดินหน้าลดฝุ่น PM2.5
สสจ.เชียงราย เตือนประชาชนรับมือค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง แนะ “รู้ – ลด – เลี่ยง” ป้องกันผลกระทบสุขภาพ
จังหวัดเชียงราย บูรณาการความร่วมมือ ไทย-ลาว ทำแนวกันไฟลดหมอกควันข้ามแดน
เชียงรายโฟกัสดอทคอม  สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
นโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การจดจำคุณเมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณพบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด