อุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

อุทยานธรณีเชียงราย (Chiangrai Geopark)

อุทยานธรณีเชียงราย (Chiangrai Geopark) อุทยานธรณีน้องใหม่ ประเทศไทย โดยมี นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็น ผอ.อุทยานธรณีเชียงราย

“อุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark” พื้นที่อุทยานธรณีเชียงราย มีแหล่งธรณีวิทยาที่สวยงามและโดดเด่นหลายแห่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกับกระบวนการทางธรณีวิทยา ที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่

1) รอยเลื่อนมีพลัง – รอยเลื่อนแม่จัน (ธรณีพิบัติภัยรอยเลื่อนแม่จัน) ซึ่งเชื่อมโยงกับการล่มสลายของเวียงหนองหล่ม

2) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก การยกตัวสูงขึ้นของเทือกเขา ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่หลากหลายมีความสวยงามและเกี่ยวพันไปถึงพืชเศรษฐกิจอันเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือที่เรียกว่าพืช GI

3) ภูมิประเทศหินปูนและระบบถ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย โดยมีเรื่องราวเชื่อมโยงกับการกู้ภัยระดับโลกที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561

โดยมีแหล่งน่าเที่ยวในอุทยานธรณีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวียงหนองหล่ม, ถ้ำปลา, ถ้ำหลวง, พุน้ำร้อนป่าตึง, ถ้ำปุ่ม เป็นต้น ซึ่งอุทยานธรณีเชียงรายจะประกาศจัดตั้งไม่ได้เลย ถ้าขาดความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานและองค์กรในพื้นที่

จังหวัดเชียงราย ประกาศจัดตั้ง อุทยานธรณีเชียงราย (Chiangrai Geopark)” เป็นอุทยานธรณีท้องถิ่น เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน รวมเป็นพื้นที่ 1,434 ตารางกิโลเมตร

-ร่าง-แผนที่ขอบเขตอุทยานธรณีเชียงราย

จังหวัดเชียงราย ขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณีเชียงราย ได้จัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 3 เส้นทาง เพื่อส่งเสริมเชื่อมโยงตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณี (geopark) (อำเภอเชียงแสน แม่จัน และแม่สาย) ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกัน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเส้นทางท่องเที่ยวได้ที่เว็บไซต์ อพท.เชียงราย >> https://www.dasta.or.th/th/microsite/dastaarea8

เส้นทางที่ 1 “อัศจรรย์ธรรมชาติ ธรณีวิทยาเชียงราย”

>> https://www.dasta.or.th/th/article/3179

  • เส้นทางท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และชุมชนโดยรอบ
เส้นทางท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และชุมชนโดยรอบ

.

เส้นทางที่ 2 “เสน่ห์แห่งตำนาน ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน”

>> https://www.dasta.or.th/th/article/3611

  • เส้นทางท่องเที่ยว แม่จัน – แม่สาย
เส้นทางท่องเที่ยว แม่จัน-แม่สาย

  • แนะนำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณี Geotrail เชียงรายจีโอพาร์ค “เป็นไปตามคาสต์” (เส้นทางแม่สาย – แม่จัน)

.

เส้นทางที่ 3 “รอยเลื่อน อดีตโยนกนคร”

>> https://www.dasta.or.th/th/article/3610

  • เส้นทางท่องเที่ยวแม่สาย-เชียงแสน-แม่จัน
เส้นทางท่องเที่ยวแม่สาย-เชียงแสน-แม่จัน

  • แนะนำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณี Geotrail เชียงรายจีโอพาร์ค “เล่าตำนานผ่านรอยเลื่อน (เส้นทางแม่จัน – เชียงแสน)”

.

คลิปวีดีโอ 14 แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

อุทยานธรณีประเทศไทยขอแสดงความยินดีกับอุทยานธรณีน้องใหม่ “อุทยานธรณีเชียงราย”❤️ จังหวัดเชียงราย ประกาศจัดตั้ง “อุทยานธรณีเชียงราย” เป็นอุทยานธรณีท้องถิ่น เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน รวมทั้งหมด 1434 ตารางกิโลเมตร ➡️ มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในพื้นที่ ดังนี้ 1. ธรณีพิบัติภัยรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเชื่อมโยงกับการล่มสลายของเวียงหนองหล่ม 2. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสองยุค (ยุคไทรแอสซิคและเทอเชียร์รี) (a) แผ่นเปลือกโลกไซบูมาสุเคลื่อนที่ชนแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน (b) การยกตัวสูงขึ้นของเทือกเขาอันเนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย ชนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่หลากหลายมีความสวยงามและเกี่ยวพัน้ ไปถึงพืชเศรษฐกิจอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงรายหรือที่เรียกว่าพืช GI 3. ภูมิประเทศหินปูนและระบบถ้ำ ที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย โดยมีเรื่องราวเชื่อมโยงกับการกู้ภัยระดับโลกที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา โดยมีแหล่งน่าเที่ยวในอุทยานธรณีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวียงหนองหล่ม, ถ้ำปลา, ถ้ำหลวง, พุน้ำร้อนป่าตึง, ถ้ำปุ่ม เป็นต้น ซึ่งอุทยานธรณีเชียงรายจะประกาศจัดตั้งไม่ได้เลย ถ้าขาดความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานและองค์กรในพื้นที่ #GeoparksThailand #อุทยานธรณีประเทศไทย #อุทยานธรณีชียงราย #ChiangRaiGeopark

โพสต์โดย Geoparks Thailand เมื่อ วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2024

14 แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

.

.

14 แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงอุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

อุทยานธรณีเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำนภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,434 ตารางก็โลเมตร

ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเป้าหมายจะก้าวเข้าสู่อุทยานธรณีระดับประเทศ และระดับโลกต่อไป

แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงอุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark

เปิดแลนด์มาร์คใหม่ อ.แม่สาย ’อุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์’ เอาใจสายท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

’อุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์’ ริเริ่มจากมูลนิธิวัดเงิน (Silver Temple Foundation Chiangmai Thailand หรือ STF) แหล่งเรียนรู้วัดศรีสุพรรณ และเครือข่ายภาคเอกชน ประชาชนในจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกันพัฒนา “อุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์” เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรม ต้นกำเนิดภูมิปัญญาล้านนาและการท่องเที่ยวใหม่ในลุ่มแม่น้ำโขง อุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์ จังหวัดเชียงราย โดยมีกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู เสริมสร้างความตระหนักรู้ เห็นคุณค่าวิถีชุมชน

โดยอุทยานโยนกนาคพันธุ์ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับเวียงหนองหล่ม อยู่ในแนวรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการประกาศจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ให้เป็นพื้นที่ อุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark
– นายธีรภัทร์ ทองใบ ผู้อำนวยการอุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์
– นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นผู้อำนวยการอุทยานธรณีเชียงราย

โดยในวันที่ 13-15 สิงหาคม 2567 นี้ ทางจังหวัดเชียงราย เชิญเที่ยวงาน.. “มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย

ตอน “ธรณีมหัศจรรย์ สร้างสรรค์อัตลักษณ์เชียงราย”

ณ หอประวัติเมืองเชียงราย 750 ปี (ด้านหลังศาลากลางหลังเก่า) เวลา 09.00 – 21.00 น.

“มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย” 13-15 สิงหาคม 2567

กิจกรรมภายในงาน

  • สัมผัสความมหัศจรรย์ของ “อุทยานธรณีในประเทศไทย” และร่วมสำรวจ เชียงราย จีโอพาร์ค
  • ตะลุยเส้นทางท่องเที่ยวกับกิจกรรม “เชียงราย Geotrail”
  • ค้นฟ้า ท้าดาว กับกิจกรรม “Dark sky”
  • ร่วมอุดหนุนผลิตภัณฑ์ในพื้นที่เชียงราย จีโอพาร์ค
  • พร้อมร่วมสนุก ลุ้นรับรางวัล กับกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย พบกันนะคะ

ภายในงานมีนิทรรศการ “ตรวจสอบอัญมณีและวัตถุทางธรณีสายมู” ตรวจสอบอัญมณีรวมถึงหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้น โดยนักธรณีวิทยาหรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ และกิจกรรม workshop การร้อยหินมงคล ภายในงาน งานนี้ สายมูพลาดไม่ได้แล้ว….

กิจกรรม ตรวจสอบอัญมณีและวัตถุทางธรณีสายมู

จัดโดย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ข้อมูล/ภาพ เพิ่มเติม :
เพจ มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย
เพจ Chiangrai Geopark-อุทยานธรณีเชียงราย
อพท.เชียงราย (สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ปักหมุดรอ.. “น้ำพุร้อนผาเสริฐ” โฉมใหม่!! ปลายเดือนพฤศจิกายน 67 นี้
กรมทรัพยากรธรณี จัดงาน “มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย” ตอน “ธรณีมหัศจรรย์ สร้างสรรค์อัตลักษณ์เชียงราย”
5 พิกัด อุทยานธรณีเชียงราย
สำนักสงฆ์ลั๊วะ 14 หลังคา “หินแร่เหล็กไหล” อ.แม่จัน
ผาหมีเทรล “PHAMEE TRAIL 2024” .. แข่งวิ่งเทรล ดอยผาหมี เชียงราย
เตรียมพร้อมเปิด ’อุทยานเมืองโยนกนาคพันธุ์’ เป็นแลนด์มาร์คใหม่ อ.แม่สาย