บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฏหมาย รับโทษหนัก.. โทษของผู้ครอบครองช่วยซ่อนเร้น หรือรับฝากบุหรี่ไฟฟ้า ผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า ผู้จำหน่าย – ผู้ให้บริการ มีดังนี้
.

ผู้ครอบครองช่วยซ่อนเร้น หรือรับฝากบุหรี่ไฟฟ้า
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาบุหรี่ไฟฟ้าหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรดดยถูกต้อง
ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560
.
ผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า
โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีปรับไม่เกิน 10 ปี ปรับ 5 เท่าของราคาบุหรี่ไฟฟ้าหรือทั้งจำทั้งปรับ
ยึดบุหรี่ไฟฟ้าและพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้าผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2557
โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244
.
ผู้จำหน่าย – ผู้ให้บริการ
โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับ 4) พ.ศ.2562
.
ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายจับปรับ ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเน้นติดตามจับกุมผู้ครอบครอง ผู้ลักลอบสั่งนำเข้า หรือนำมาขายเนื่องจากมีความผิดตามกฎหมาย และจากการขยายผลจับกุมยาเสพติด เริ่มพบเห็นบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมของยาเสพติดเกี่ยวข้องด้วยอยู่หลายคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเน้นติดตามจับกุมผู้ลักลอบสั่งนำเข้า หรือนำมาขาย ไม่ใช่ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นหลัก
ในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น หากพบการกระทำความผิดซึ่งหน้าต้องมีการดำเนินการคดีจับกุมตามระเบียบข้อบังคับตามกฎหมายระบุไว้เท่านั้น ไม่ใช่จะเข้าทำการตรวจค้นโดยไม่มีเบาะแส หรือผู้แจ้งพบมีการกระทำความผิด หรือหากมีการแจ้งมาเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนก่อนที่จะดำเนินคดีได้ว่าพบการกระทำผิดเข้าข้อกฎหมายดังกล่าวจริงหรือไม่


ขอขอบคุณข้อมูล : พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ภาพ/ข้อมูล เพจสืบนครบาล IDMB