อุตุฯ เตือน! พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ช่วง 29 มี.ค. – 1 เม.ย.68 นี้

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน
(มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568)

ฉบับที่ 1 (63/2568)

ในช่วงวันที่ 29 มี.ค – 1 เม.ย. 68 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง

ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อน

จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบน ประเทศเวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออก

และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (26 มีนาคม – 1 เมษายน พ.ศ. 2568)

ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. – 1 เม.ย. 68 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจาก พายุฤดูร้อน ที่จะเกิดขึ้น โดย หลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรือ อยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และ ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควร เสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกัน ระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้ง ดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควร เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ไว้ด้วย (กรมอุตุนิยมวิทยา)

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17.00 น.

(ลงชื่อ) สุกันยาณี ยะวิญชาญ

(นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

#เตือนภัย #กรมอุตุนิยมวิทยา