
แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดินซึ่งเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานสะสมตามรอยแผ่นเปลือกโลก หรือแนวรอยเลื่อน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบมาถึงอาคารสูง รวมถึงหลาย ๆ ที่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ใคร ๆ ก็ไม่คาดคิด และไม่อยากให้เกิดขึ้นแบบนั้นอีก
ปภ. จึงขอแชร์วิธีที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัย เมื่ออยู่บนอาคารสูงในขณะเกิดแผ่นดินไหวและวิธีการรับมือภายหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้น
เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว และอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
- ตั้งสติ และสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ปิดแก๊ส น้ำประปาทันที
- ปฏิบัติตามหลัก “หมอบ ป้อง เกาะ“ โดยหมอบใต้โต๊ะ ใช้แขนป้องกันศีรษะ ยึดเกาะโต๊ะให้แน่น และเคลื่อนตัวไปตามทิศทางแรงสั่นสะเทือน
- เมื่อแรงสั่นสะเทือนสงบ อพยพลงไปยังชั้นล่าง หรือที่โล่งทางบันไดหนีไฟ อย่างระมัดระวัง ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
- พาตัวเองไปยังที่ปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก โดยไม่อยู่ใกล้อาคาร หรือเสาไฟฟ้า
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวสงบ ควรตรวจสอบอาคารทั้งภายใน และภายนอก ดังนี้
- ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร / ภายในอาคาร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าอาคาร จนกว่าผู้เชี่ยวชาญจะแจ้งว่าปลอดภัย
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า แก๊ส และระบบประปาตามจุดต่าง ๆ ไม่ควรใช้งานจนกว่าช่างจะตรวจแล้วว่าปลอดภัย
- ปรับปรุงทั้งภายนอก และภายในอาคารเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
- หากพบรอยร้าว ให้รีบแจ้งผู้เชี่ยวชาญดำเนินการซ่อมแซม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM ภาพ/ข้อมูล
เรื่องที่เกี่ยวข้อง