พระนามกษัตริย์จาก”พรญามังราย” สู่ “พ่อขุนเม็งราย” ในปัจจุบัน

ลองอ่านกันดูนะครับ เป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากเฟสบุ๊คส่วนตัวของ อ.อภิชิต เกี่ยวการการเรียกพระนามกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงราย

เกี่ยวกับพระนามกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงราย-เชียงใหม่ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ณ ที่นี้.#พระนามที่ปรากฏในศิลาจารึก

1. ศิลาจารึก วัดพระยืน พ.ศ.1913 จ.ลำพูน จารึกว่า #พรญามังรายหลวง
2. ศิลาจารึก ราชวงศ์มังราย จ.พะเยา พ.ศ.1954 จารึกว่า #มังราย
3. ศิลาจารึก วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พ.ศ.2124 จารึกว่า #พรญามังรายเจ้า
4. เอกสารชั้นต้น ใบลาน พับสา อักษรล้านนา ภาษาล้านนา ทุกฉบับจารว่า #พรญามังราย ทั้งสิ้น

คำว่า #เมงราย มาจากหนังสือ พงศาวดารโยนก พ.ศ.2450 เป็นต้นมา (เปลี่ยน #มังราย เป็น #เมงราย ใช้คำว่า #พระยาเมงราย)
คำว่า #พ่อขุนเมงราย ครั้งแรกในเนื้อเพลงประกอบละครเรื่อง มหาเทวี แต่งโดย หลวงวิจิตรวาทการ พ.ศ.2481

ต่อมา จังหวัดเชียงรายจัดสร้างเหรียญที่ระลึก พ.ศ.2505 ใช้คำว่า #พ่อขุนเมงราย (ไม่มีไม้ไต่คู้) สืบต่อมา.และจัดสร้างอนุสาวรีย์ พ.ศ.2507 จารึกใต้ฐานว่า #พ่อขุนเมงรายมหาราช

ปัญหานี้ไม่ใช่ #ไก่หรือไข่เกิดก่อนกัน แต่เป็นเรื่องความถูกต้องและความคุ้นชิน มีเส้นบางๆ เรียกว่า #จิตสำนึกกั้นอยู่เท่านั้น เราต่อสู้กันมาหลายปีและมันก็ได้ผลอยู่บ้าง ไม่ว่าจะด้วยการบอกกล่าว เผยแพร่ข้อมูลหลักฐานเพิ่มขึ้น แม้แต่การรุมด่า ทำให้ช่วงหลังมานี้หลายๆ หน่วยงานก็หันมาใช้คำว่า #พญามังราย มากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายที่ที่ไม่ยอมเปลี่ยนหรือยังไม่เข้าฅิง เราก็ต้องพยายามกันต่อไปครับ

ที่มาต้นฉบับ : https://www.facebook.com/rekkrub.rek/posts/10216595566600588
อภิชิต ศิริชัย
26.1.65