พระตำหนักดอยตุง..
สถานที่ทรงงานของสมเด็จย่า เมื่อครั้งทรงริเริ่ม โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อปี 2531 เป็นอาคารที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบสวิสชาเลต์ กับสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ประกอบด้วยไม้แกะสลัก โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน ระเบียงด้านหลังประดับด้วยดอกไม้สวยงาม ด้านหน้าจัดเป็นสวนดอกไม้นานาพันธ์ มองเห็นทิวทัศน์กว้างไกลไปถึงแม่น้ำโขง และทิวเขาฝั่ง สปป.ลาว
ตัวอาคารชั้นบนแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ประทับของสมเด็จย่า ส่วนท้องพระโรงและห้องประกอบพระกระยาหาร ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนาธิวาสราชนครินทร์ และส่วนที่พักของผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ภายในตกแต่งแบบเรียบง่าย สง่างาม เน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างพอดี สะท้อนพระราชจริยวัตรอันเรียบง่ายของเจ้าของบ้านได้อย่างชัดเจน
พระตำหนักดอยตุง สร้างจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ด้านนอกก่อสร้างด้วยคอนกรีตตกแต่งด้วยปีกไม้ ซึ่งเป็นไม้สักขนาดเล็กได้จากการทอนไม้ที่ไม่ได้ขนาดในสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อให้ไม้สักที่เหลือเจริญเติบโตแข็งแรง ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปภายในพระตำหนักบุผนังด้วยไม้สน จากลังไม้ที่ใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ส่วนพื้นเป็นไม้สักทองที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้น้อมเกล้าฯถวายการสร้างพระตำหนักจึงเป็นตัวอย่างของการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัวอาคารชั้นบนแยกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ส่วนท้องพระโรงและห้องประกอบพระกระยาหาร ส่วนที่พักของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
การตกแต่งภายในเป็นไปอย่างเรียบง่าย สง่างาม เน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างพอดี สะท้อนลักษณะอุปนิสัยของ เจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเด่นของพระตำหนัก คือ เพดานท้องพระโรง ที่แกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆที่สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนีทรงเลือก และ ตรงกลางสลักเป็นกลุ่มดาวในสุริยะจักรวาลเรียงตามองศาในวันที่ 21 ตุลาคม 2443 ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ และฝังดวงไฟให้กำลังแสงตามขนาดที่ได้สัดส่วนตามจริง โดยการคำนวณ และออกแบบโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลติดต่อ : โครงการพัฒนาดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โทร / แฟ็กซ์ 053-767015-7