มื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุม จัดทำแผนขับเคลื่อนพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษเชียงราย เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาอุทยานธรณีเชียงราย สู่การเป็นอุทยานธรณีระดับยูเนสโก ( UNESCO ) โดยมีคณะอนุกรรมการ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อผลักดัน วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน ตำบล โป่งผา อำเภอแม่สาย เชียงราย เป็นอุทยานธรณี สู่การเป็นอุทยานธรณีระดับยูเนสโก ( UNESCO ) ณ ห้องอูหลง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงรายได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการอุทยานธรณีเชียงราย ลงวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ผู้อำนวยการ อพท. เป็นรองประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ กำหนดนโยบายแนวทางการดำเนินงานของอุทยานธรณีจังหวัดเชียงราย ให้สอดคล้องกับนโยบายในการผลักดันอุทยานธรณีไปสู่ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ รวมถึงระดับโลก จึงได้ดำเนินโครงการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการเที่ยวท่องพื้นที่พิเศษเชียงราย วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน ตำบล โป่งผา อำเภอแม่สาย เชียงราย ซึ่งเป็นถ้ำที่มีความยาวมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย ปากถ้ำเป็นโถงกว้างและสูงกว่าโถงถ้ำแรก ภายในถ้ำสามารถพบเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำ ถ้ำลอด ถ้ำแขนง แนวโถงถ้ำมีเส้นทางคดเคี้ยว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น รอยการไหลของน้ำเป็นริ้วคลื่น (ripple mark) ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดใหญ่เล็กจำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (tension crack) รอยระดับน้ำ หลุมยุบ โพรงเพดานถ้ำ รอยแตกของผนัง ถือเป็นถ้ำที่มีความเหมาะสมในเชิงการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยสถานการณ์กู้ภัย ระดับโลก ในการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ทีมฟุตบอล หมูป่า จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นอุทยานธรณี สู่การเป็นอุทยานธรณีระดับยูเนสโก ( UNESCO ) เพื่อเตรียมการประกาศจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่พิเศษ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะ 6 ปี รวมถึงแผนการถอนตัวจากพื้นที่อย่างเหมาะสม จึงว่าจ้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นที่ปรึกษาโครงการ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างการรับรู้เข้าใจ ระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอคณะกรรมการการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในลำดับต่อไป
ทั้งนี้จากข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0110/7779 ลงวันที่ 24 กันยายน 2562 มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี อพท.และจังหวัเชียงราย ร่วมกันเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน เตรียมความพร้อมพัฒนาอุทยานธรณี วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน ตำบล โป่งผา อำเภอแม่สาย เชียงราย เป็นอุทยานธรณี สู่การเป็นอุทยานธรณีระดับยูเนสโก ( UNESCO ) ในปี 2568 เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนยกระดับเมืองเชียงรายให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกอีกด้วย