พาณิชย์ ดัน 3 สินค้า GI ไทย กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง สับปะรดห้วยมุ่น สู่ตลาดญี่ปุ่น สร้างรายได้ให้เกษตรกรท้องถิ่นกว่า 1,200 ล้านบาท

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งเสริมสินค้าชุมชนท้องถิ่นให้ขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับสินค้าท้องถิ่นและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในคุณภาพสินค้า GI ไทย

ล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรป่าไม้ ของประเทศญี่ปุ่น ผลักดันการจดทะเบียนสินค้า GI ไทย รวม 3 รายการ ได้แก่ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้างจังหวัดเชียงราย และสับปะรดห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยกว่า 1,200 ล้านบาท

ปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯ ของประเทศญี่ปุ่น ได้ตรวจสอบคำขอรับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ใน 3 รายการของไทยในเบื้องต้นแล้ว และกำหนดเดินทางมาไทยเพื่อลงพื้นที่ดูแหล่งเพาะปลูกและแหล่งผลิตสินค้า GI ดังกล่าวในช่วงปลายปีนี้

ที่ผ่านมากรมทรัพย์สินทางปัญญาประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้สินค้า GI ไทยได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม รวม 7 รายการ สำหรับการได้รับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทยในต่างประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายโอกาสทางการส่งออกให้กับสินค้า GI ไทย นำมาสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

//สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
พิกัดลายแทง “กางเกงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น” ของแต่ละจังหวัด ..ใส่แอ่วปี๋ใหม่เมืองบ้านเฮา ก็ตึงเท่ห์ ตึงงาม
เชียงรายเปิดศูนย์รวบรวมและจำหน่ายสินค้า “ Welcome to Chiang Rai Shop ” ส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าคุณภาพของจังหวัดเชียงรายให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ขอเชิญร่วมงาน Chiangrai Northern Border Trade Festival ระหว่างวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2568
“Chiangrai FAM TRIP Wellness City” (เส้นทางท่องเที่ยวเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ 2 วัน 1 คืน) ..สายรักสุขภาพห้ามพลาด!!
อุทยานธรณีเชียงราย Chiangrai Geopark
แลนด์มาร์คใหม่ ฟาร์มแกะบนดอยช้าง (อัพเดท)
เชียงรายโฟกัสดอทคอม  สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
นโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การจดจำคุณเมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณพบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด