เชียงราย ไทย-จีน ร่วมถกปัญหาแก้ไข PM 2.5 อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นต้นแบบและนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ

ไทย-จีน ร่วมถกปัญหาแก้ไข PM 2.5

วันที่ 30 พ.ค. 66 ที่ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายมิติ ติยะไพรัตน์ ตัวแทนภาคประชาสังคม ว่าที่ สส.จุฬาลักษณ์ ขันสูธรรม ว่าที่ สส.วิทูร ยะแสง ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ Mr. Gansheng Shi, Engineer of Shanghai Institute of Ceramics, Chinese Academy of Sciences , Prof. Dr. Jing Sun, the Research Group Leader of Shanghai Institute of Ceramics, Chinese Academy of Sciences เพื่อหารือถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 และปัญหาหมอกควันไฟป่า ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย

นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เชียงรายได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ถึง ต้นเตือนพฤษภาคม ซึ่งในปี 2566 นี้ถือว่ามีความรุนแรง ซึ่งในจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่เป็นที่ราบ เมื่อเกิดฝุ่นละอองในอากาศก็จะพัดมารวมกันทำให้เกิดเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งทางหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขปัญหาทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ผ่านมาทางประเทศจีนก็ได้ประสบปัญหามาก่อนแต่ก็มีการแก้ไขได้อย่างดี ในวันนี้ทางมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ ประเทศจีนจะได้ให้คำปรึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นต้นแบบและนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ

นายมิติ ติยะไพรัตน์ ตัวแทนภาคประชาสังคม กล่าวว่า ในปีนี้ทางภาคประชาสังคมก็จะพยายามช่วยเหลือในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะทำให้การแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ที่มันเกิดขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นหรือมีน้อยที่สุด

ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล กล่าวว่า ปัจจุบันมีความผันผวนของสภาพภูมิอากาศที่ยากแก่การคาดเดา และการแก้ไขปัญหา ไฟและฝุ่น ณ แหล่งกำเนิดยังคงมีความซับซ้อนและยังคงใช้เวลาในการแก้ไข นอกจากนี้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศไม่สามารถแก้เพียงที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น เพราะมลพิษทางอากาศไม่มีขอบเขตการปกครอง ดังนั้นการร่วมมือกันของทุกๆภาคส่วน และการร่วมมือระหว่างประเทศจึงสำคัญและการปรับตัว พร้อมด้วยการรับมือจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยการนี้กลุ่มนักวิจัย จาก The Research Group Leader of Shanghai Institute of Ceramics, Chinese Academy of Sciences ได้ทำการพัฒนานวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กที่สามารถใช้ได้ทั้งในระบบปิด และ ระบบเปิด โดยใช้หลักการไฟฟ้าสถิต และไม่ต้องมีการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมสำหรับการรับมือและการลดผลกระทบด้านสุขภาวะที่เกิดขึ้นได้ โดย นายสิทธิกร ฉันทแดนสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้เป็นผู้ประสานงานให้มีการบริจาคเครื่องดังกล่าวนี้ มายังพื้นที่ๆได้รับผลกระทบในประเทศไทย จำนวน 4 เครื่อง โดยติดตั้งที่โรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รร.ชุมชนบ้านท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และ อีก 2 เครื่องที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งสองเครืองแรกจะเป็นการติดตั้งในโรงเรียนที่มีค่า PM2.5 และ การเกิด Fire Hotspot ค่อนข้างสุงเพื่อเป็นการลดผลกระทบให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่วนอีก 2 เครื่องนั้นเพื่อเป็นความร่วมมือกันในด้านวิชาการต่อไป

Prof. Dr. Jing Sun กล่าวว่า เราได้เห็นปัญหาหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย และได้รับการประสานจากคุณสิทธิกร ฉันทแดนสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อประสานโอกาสและความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ การเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหา PM2.5 จากหลายๆ ภาคส่วนจึงถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน ต่อไป

ภาพ/ข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย https://www.facebook.com/Samnaknganprachasamphan

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
มาตรการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดเชียงราย ปี 67 ระหว่างวันที่ 1-30 พฤษภาคม 2567 หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดของจังหวัด แจ้งเบาะแส และมีรางวัลนำจับ 5,000 บาท
ค่าฝุ่น PM2.5 จ.เชียงราย วันที่ 2 พ.ค.2567 | ระดับสีค่าฝุ่นอยู่ในช่วงสีแดง
ค่าฝุ่น PM2.5 จ.เชียงราย | 29 มีนาคม 2567
ค่าฝุ่น PM2.5 จ.เชียงราย วันที่ 19 มีนาคม 2567 | ระดับสีค่าฝุ่นอยู่ในช่วงสีแดง
ป่วยจากมลพิษ/ประเมินอาการ/ดูแลสุขภาพเบื้องต้น ได้ที่ คลินิกมลพิษแบบออนไลน์ หรือคลินิกมลพิษที่โรงพยาบาลรัฐ ใกล้บ้าน ตลอด 24 ชม.
ฮอตสปอตแทบไม่มี แต่ค่าฝุ่น PM.2.5 สูงสุดภาคเหนือ แม่สายทะลุเกิน 200 ไมโครกรัมแล้ว