ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัย และดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประจำวันที่ 24 กันยายน 2567

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัย และดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประจำวันที่ 24 กันยายน 2567

ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -24 ก.ย. 2567 รวมทั้งสิ้น รวมทั้งสิ้น 11 อำเภอ 48 ตำบล 403 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 56,210 ครัวเรือน เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 6 ราย สูญหาย 1 ราย พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,180 ตัว (ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 5 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,115 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว (ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว) ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 10 จุด คอสะพาน 4 จุด และรพ.สต. 1 แห่ง

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (24 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่น อ.เวียงป่าเป้า และ อ.แม่สรวย เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สายด่วน 1784

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (24 ก.ย. 67) ดังนี้

อ.เมืองเชียงราย (ข้อมูลสะสม 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน 52 ชุมชน) ปัจจุบัน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์บางส่วนในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงราย ได้แก่ ชุมชมเกาะลอย และชุมชนบ้านใหม่ เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย (จมน้ำเสียชีวิตที่ชุมชนป่างิ้ว เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 67) (วันที่ 23 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย ยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย และชุมชนบ้านใหม่) / เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 19 – 20 กันยายน 2567 เทศบาลนครเชียงราย ร่วมกับ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 35 (นพค.35) นำสะพานชั่วคราวไปติดตั้ง ณ จุดคอสะพานขาด บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด เพื่อให้สามารถขับขี่ยานพาหนะข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งได้ (สะพานชั่วคราวสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 10 ตัน และได้เฉพาะรถกระบะ รถจักรยานยนต์ ส่วนรถเก๋งไม่แนะนำ)

โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ / วันที่ 23 ก.ย. 67 เปิดเรียนแล้วทุกแห่ง

การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่

กู้คืนระบบผลิตประปาและจ่ายน้ำได้(ครั้งแรก)แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 67

– กปภ.สาขาเชียงราย มีประกาศไม่สามารถจ่ายน้ำได้ตามปกติ ในวันที่ 24 ก.ย. 67 เวลา 13.00 – 16.00 น. เนื่องจากซ่อมแซมตู้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำแรงสูง

ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ

บ้านพนาสวรรค์ บ้านผาขวาง และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน วันที่ 19 ก.ย. 67 เปิดใช้เส้นทางได้บางส่วน สำหรับการส่งเสบียงใช้เส้นทางสัญจรทางบกเป็นหลัก

ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำบางส่วน

ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน

ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย

อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10

อ.เชียงของ (ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน)/ ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.เวียง หมู่ที่ 1 -14 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว ต.ริมโขง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7, 8 ต.สถาน หมู่ที่ 2,4,5,6,8,13,15 ต.ศรีดอนไชย หมู่ที่ 4,7,8,12,14,16

อ.แม่จัน (ข้อมูลสะสมจำนวน 11 ตำบล 125 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน) / ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ / วันที่ 22 ก.ย. 67 ดินสไลด์ถนน ทล.1098 ท่าข้าวเปลือก-แก่นใต้ ช่วง กม.ที่ 18+266 – 18+466 ตอม่อสะพานทรุดตัว ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) รื้อถอนสะพานเหล็กชั่วคราว ปิดการจราจรเพื่อความปลอดภัยและประเมินเสถียรภาพของสะพาน ให้ใช้ทางเลี่ยง ทช.1063 แทน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกความปลอดภัยด้านจราจร ต.ป่าตึง หมู่ที่ 1-20 ต.แม่คำ หมู่ที่ 1,4,7-14 ต.ท่าข้าวเปลือก หมู่ที่ 1-14 ต.ศรีค้ำ หมู่ที่ 1-5,7,10 ต.ป่าซาง หมู่ที่ 4,7,11,15 ต.จันจว้า หมู่ที่ 1-11 ต.จันจว้าใต้ หมู่ที่ 1-12 ต.จอมสวรรค์ หมู่ที่ 1,2,4,6,8-10 ต.แม่จัน หมู่ที่ 1-3, 6,8-14

ต.แม่ไร่ หมู่ที่ 1-9 ต.สันทราย หมู่ที่ 1-9

อ.แม่ฟ้าหลวง ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 58 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน วันที่ 22 ก.ย. 67 ดินสไลด์ถนน ทล.1334 ผาบือ-ดอยช้างมูบ ช่วง กม.ที่18+500 ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม ต.แม่ฟ้าหลวง หมู่ที่ 1-19 ต.แม่สลองนอก หมู่ที่ 1,2,6,7,9,10,11 ต.แม่สลองใน หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,11,12,14,15,18,20,21,22 และ ต.เทอดไทย หมู่ที่ 1-10, 13-17,19

อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ ข้อมูลสะสมจำนวน 8 ตำบล 74 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สุกร 4 ตัว สัตว์ปีก 27,615 ตัว ต.แม่สาย หมู่ที่ ม.1-13 ต.เวียงพางคำ หมู่ที่ 1-10 ต.เกาะช้าง หมู่ที่ 1-13 ต.ศรีเมืองชุม หมู่ที่ 1-9 ต.บ้านด้าย หมู่ที่ 1-8 ต.โป่งผา หมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,10,11 ต.โป่งงาม หมู่ที่ 1,2,3,6,8,9,11,12 และต.ห้วยไคร้ หมู่ที่ 2,3,4,8,9

วันที่ 24 ก.ย. 67 ภารกิจฟื้นฟูช่วยเหลือ คืนสภาพ อำเภอแม่สาย ปฏิบัติภารกิจพื้นที่ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ตรอก/ซอย และพื้นที่สาธารณะที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 26 สายทาง (24 ถนน 2 พื้นที่สาธารณะ) เข้าดำเนินการแล้ว 19 สายทาง (17 ถนน 2 พื้นที่สาธารณะ) ดำเนินการแล้วเสร็จ 9 สายทาง (9 ถนน) (หน่วยดำเนินการจำนวน 13 ชุดปฏิบัติการ ได้แก่ กรมการทหารช่าง(กช.)/ พล พัฒนา 3 (ชุดที่ 1)/ พล พัฒนา 3 (ชุดที่ 2)/ ศูนย์ ปภ. เขต 10(ลำปาง)/ เทศบาลตำบลแม่สาย/ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต/ กรมโยธาธิการและผังเมือง/ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)/ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)/กรมทางหลวง/ แขวงทางหลวงชนบทเชียงราย/ กรมชลประทาน/ อบจ.เชียงใหม่)

ผบ.นพค.32 สนภ.3 นทพ./ผอ.ศบภ.นพค.32 สนภ.3 นทพ. จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยกำลังพล 12 นาย, รถลากจูง 1 คัน, รถเทท้าย 2 คัน, รถตักหน้าขุดหลัง(JCB) 1 คัน, รถบรรทุกน้ำ ขนาด 6,000 ลิตร 1 คัน และ รยบ.ขนาดเล็ก 1 คัน ร่วมกับ พัน สห.สท.บก.บก.ทท. และ ทบ. ช่วยทำความสะอาดในการฟื้นฟูบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ อ.แม่สาย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในห้วงที่ผ่านมา เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ณ ชุมชนเกาะทราย ม.7 ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

ร้อย.ม.3 ฉก.ทัพเจ้าตาก ร่วมสังเกตุการณ์ โดยรถแบคโฮดำเนินการตักดินบริเวณวัดพระธาตุดอยเวาออกเพื่อลดน้ำหนักและทำทางเดินน้ำป้องกันการเกิดดินสไลด์ไปยังบ้านประชาชนซ้ำ ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ

ร้อยละ 80 ณ วัดพระธาตุดอยเวา บ.แม่สาย ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย / บก.ผาทมิฬ ฉก.ทัพเจ้าตาก ดำเนินการกรอกทรายลงในถุงบิ๊กแบ็ค และนำไปวางทำแนวพนังกั้นน้ำ บริเวณ หัวฝาย ดำเนินการไปแล้ว 20% และดำเนินการตักดินโคลนและทราย ออกจากบ้านประชาชนผู้ประสบภัย

กปภ.เขต 9 การประปานครหลวง (กปน.) กรุงเทพฯ เร่งเข้าสำรวจท่อแตกท่อรั่วในพื้นที่ถนนเหมืองแดง หมู่บ้านปิยะพร หมู่บ้านธนธานี พบท่อแตกรั่วจำนวน 27 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุดขาตั้งมาตรชำรุดเสียหายจากการเคลียร์พื้นที่ของเครื่องจักรหนัก พร้อมเตรียมชุดซ่อม เร่งลงพื้นที่ที่ซ่อมทันที ในส่วนของพื้นที่จ่ายน้ำประปา บางพื้นที่ยังคงมีแรงดันน้ำในระบบไม่เพียงพอ ส่งผลให้น้ำไหลอ่อน/ไม่ไหล ในช่วงเวลาที่มีปริมาณความต้องการใช้น้ำสูง

อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย

อ.เทิง ข้อมูลสะสมจำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 21 ก.ย. 67 สามารถสัญจรผ่านได้

อ.เวียงแก่น ข้อมูลสะสมจำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

อ.เวียงป่าเป้า ข้อมูลสะสมจำนวน 7 ตำบล 44 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 2,874 ครัวเรือน ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย สูญหาย 1 ราย

วันที่ 24 ก.ย. 67 พื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 7 ตำบล 44 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 2,874 ครัวเรือน ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย สะพานชำรุดไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 1 แห่ง สถานบริการสาธารณสุข 1 แห่ง (รพ.สต.แม่ปูนล่าง) และพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม/ จัดตั้งศูนย์พักพิง 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลป่างิ้ว มีประชาชนอพยพมาเข้าพัก จำนวน 20 คน ต.สันสลี หมู่ที่ 3,5,6 ต.เวียง หมู่ที่ 2,5,6,7,9 ต.บ้านโป่ง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8 ต.ป่างิ้ว หมู่ที่ 1,3,12,13 ต.เวียงกาหลง หมู่ที่ 3,6,7,9,10,11,13 ต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 3,10,11 ต.แม่เจดีย์ใหม่ หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14 สถานการณ์ ณ วันที่ 24 ก.ย. 2567 เวลา 23.30 น.

พื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลสันสลี, ตำบลแม่แม่เจดีย์ และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ สถานการณ์ได้คลี่คลายลงระดับน้ำได้ลดลงแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และฝ่ายปกครองในพื้นที่ได้เข้าสำรวจความเสียหายและดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรตามอำนาจหน้าที่

พื้นที่ตำบลเวียง, ตำบลป่างิ้ว และตำบลบ้านโป่ง ระดับลดลง โดยมีพื้นที่ที่ยังคงได้รับผลกระทบจำนวน 23 หมู่บ้าน 2,540 ครัวเรือน รพ.สต.แม่ปูนล่างได้รับผลกระทบ/ปิดให้บริการ โดยส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้แจกจ่ายถุงยังชีพ แจกจ่ายอาหาร และอพยพราษฎรในพื้นที่เสี่ยงเข้าศูนย์พักพิง ทต.ป่างิ้ว จำนวน 20 คน

บ้านห้วยหินลาด (หย่อมบ้านทรายขาว) หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโป่ง ได้เกิดเหตุดินโคลนถล่มปิดทับเส้นทางจราจรเข้าหมู่บ้าน โดยมีผู้ประสบภัยทั้งหมด 8 ราย แบ่งเป็นผู้บาดเจ็บ 4 ราย หญิงตั้งครรภ์ 3 ราย นำส่งโรงพยาบาลอำเภอเวียงป้าเป้าเรียบร้อยแล้ว มีผู้สูญหาย 1 ราย ทรายชื่อ นายจะลอ จะสอ ปัจจุบันพบตัวแล้วปลอดภัยดี

สะพานบ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9 ตำบลเวียง และสะพานแม่ฉางข้าว บ้านหนองเขียว หมู่ที่ 10 ต.ป่างิ้ว ถูกน้ำป่ากัดเซาะบริเวณคอสะพานทำให้รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ฝ่ายปกครองร่วมกับราษฎรในพื้นที่ได้ทำสะพานไม้ชั่วคราวเพื่อให้ประชาชนสัญจร ทั้งนี้ อำเภอเวียงป่าเป้าได้ประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและแขวงทางหลวงชนบท ดำเนินการสำรวจและซ่อมแซม น้ำเอ่อล้นท่วมผิวจราจร ถนนหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ในพื้นที่ตำบลเวียง, ตำบลบ้านโป่งและตำบลป่างิ้ว รถยนต์เล็กสามารถสัญจรผ่านได้

จังหวัดเชียงราย สนับสนุนถุงยังชีพ 960 ชุด น้ำดื่ม 200 แพ็ค บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 10 กล่องใหญ่ มอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า

อ.แม่สรวย วันที่ 24 ก.ย. 2567 เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ท่าก๊อ หมู่ที่ 2,5 ราษฎรได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน / จัดตั้งศูนย์พักพิง 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิง อบต.ท่าก๊อ

มีประชาชนอพยพมาเข้าพัก จำนวน 2 คน

การให้ความช่วยเหลือ

– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ยอดเงินบริจาค ณ วันที่ 24 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 7,478,071.58 บาท

– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย. 67 เวลา 15.00 น. และมีกำหนดดำเนินการถึงวันที่ 24 ก.ย. 2567 ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย

– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย วันที่ 24 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย มีกำหนดดำเนินการต่อเนื่องถึงวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 67

– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย

– ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง ไม่มีภารกิจบินในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชร.

– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล

วันที่ 24 ก.ย. 67 ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย และ ศูนย์ ปภ. เขต 10 ลำปาง ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในการฟื้นฟู โดยนำรถล้อยางยกสูง รถขุดตักไฮดรอลิก และรถบรรทุกเทท้าย ตักโคลนที่กองทับถมบริเวณบ้านเรือนราษฎร ถนน เส้นทางจราจร ในเขตพื้นที่อำเภอแม่สาย /นำรถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร จ่ายน้ำให้กับราษฎร เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และฉีดล้างทำความสะอาดในพื้นที่บ้านเมืองงิม ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย และศาลากลางจังหวัดเชียงราย

– ศูนย์พักพิง ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 24 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง

แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 5 แห่ง/ อ.แม่สาย 5 แห่ง

ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 6 แห่ง

ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)

รายละเอียดดังนี้

อำเภอเมืองเชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราว จำนวน 5 แห่ง

ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

จุดวัดสันป่าก่อไทยใหญ่* ต.รอบเวียง คงค้างจำนวน 15 ราย

วัดเม็งรายมหาราช (วัดดอยฮ่องลี่)* ต.รอบเวียง คงค้างจำนวน 40 ราย

ศูนย์การเรียนรู้ ซี.ซี.เอฟ.เชียงราย* บ้านฟาร์มสัมพันธกิจ ต.ริมกก คงค้างจำนวน 18 ราย

หมายเหตุ : ศูนย์พักพิงในเขตเทศบาลนครเชียงรายทุกจุดมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ ประจำศูนย์ในระยะวิกฤติ / ในระยะฟื้นฟูปรับมาใช้ระบบตรวจเยี่ยมและให้บริการตามวงรอบ

ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาว

ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)

อำเภอแม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 549 คน (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 3 แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง และศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง)

ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย* คงค้างจำนวน 33 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.ป่าแดด/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)

ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง* คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)

ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม* คงค้างจำนวน 300 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่ลาว, ทีม MCATT, รพ.เชียงแสน, รพ.ดอยหลวง)

ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์บ้านผาฮี้ คงค้างจำนวน 37 ราย

ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน (ในความดูแลของกระทรวง พม.)

มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา /วันที่ 17 ก.ย. 67

รมว.ศึกษาธิการ เน้นย้ำให้ดูแลโรงเรียนก่อนเป็นลำดับแรก

– จุดบริการ Fix It Center ประจำวันที่ 24 ก.ย. 67 จำนวน 7 แห่ง ดำเนินการโดยสถานศึกษา สอศ. จากทั่วประเทศ รายละเอียดจุดบริการฯ ดังนี้ จุดบริการ วัดพรหมวิหาร อ. แม่สาย ดำเนินการโดย วท. สุโขทัย และ วก.ศรีสัชนาลัย (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย ดำเนินการโดย วท.ลำพูน (ระหว่างวันที่ 23- 25 ก.ย. 67)

จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี และวท.เนินขาม (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนบ้านใหม่ โรงเรียนเทิงวิทยา โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม ดำเนินการโดย วท.เทิง (ระหว่างวันที่ 23- 27 ก.ย. 67) และจุดบริการ ชุมชนเกาะทอง ดำเนินการโดย สอน.3 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67)

แผนกำหนดจุดบริการ Fix It Center ที่จะออกบริการวันที่ 25 ก.ย. 67 จำนวน 7 แห่ง จุดบริการ มณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช ดำเนินการโดย วท.พิษณุโลก (ระหว่างวันที่ 23- 25 ก.ย. 67) วัดพรหมวิหาร อ. แม่สาย ดำเนินการโดย วท. สุโขทัย และ วก.ศรีสัชนาลัย (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 23- 25 ก.ย. 67 จุดบริการ โรงเรียนบ้านใหม่ ดำเนินการโดย วท.เทิง (ระหว่างวันที่ 23- 27 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทิงวิทยา ดำเนินการโดย วท.เทิง (ระหว่างวันที่ 23- 27 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม ดำเนินการโดย วท.เทิง (ระหว่างวันที่ 23- 27 ก.ย. 67)

– อบจ.เชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาทค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย

การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ

– กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำและกองโรงงานช่างกล สำนักการคลัง สนับสนุนรถดูดโคลน ขนาดความจุถัง 14 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 คัน รถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน รถหน่วยซ่อมเคลื่อนที่เร็ว (BEST) จำนวน 1 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครนขนาด 65 ตัน จำนวน 1 คัน รถไฟส่องสว่าง จำนวน 1 คัน และรถตู้ 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร 28 คน ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป

วันที่ 24 ก.ย. 67 ดำเนินการดูดโคลนเลนบริเวณถนนวินิจฉัยกุล จากประตูหลังค่ายเม็งรายมหาราช ทางแยกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ระยะทาง 250 เมตร ปริมาณดินโคลน 84 ลูกบาศก์เมตร แผนดำเนินการใรวันที่ 25 ก.ย. 67 ดำเนินการต่อจากจุดเดิมถึงสามแยกฌาปนสถานเด่นห้า

– กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง

– บริษัท วอชแอนด์โก Code Clean ให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ตลอด 24 ชั่วโมง และเปิดให้บริการจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จำนวน 3 จุด ได้แก่ ณ ลานธรรม ลานศิลป์ ถิ่นพญามังราย หรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป ณ สถานีดับเพลิงเทศบาลนครเชียงราย หน้าวัดดงหนองเป็ด ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 67 เป็นต้นไป หน้ามูลนิธิสยามเชียงราย สำนักงานใหญ่ จุด 5 แยก พ่อขุนฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 67 เป็นต้นไป

– เทศบาลตำบลแม่สาย จัดชุดเคลื่อนที่ลงพื้นที่รับคำร้องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและลงทะเบียนขอลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป (กรณีอุทกภัย) ในเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 67 ในพื้นที่ชุมชนแม่สาย-ดอยเวา, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเหมืองแดง,ชุมชนป่ายาง และชุมชุมชนเกาะทราย

– งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท

– สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย

– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ห้วงอุทกภัยเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567 จำนวน 234 ราย เป็นเงิน 700,000 บาท ดังนี้

– มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง เพื่อช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 167 ราย เป็นเงิน 500,000 บาท

– มอบเงินปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 216 หลังเป็นเงิน 3,888,000 บาท

การอำนวยการ/สั่งการ แผนดำเนินการฟื้นฟูในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

อำเภอเมืองเชียงราย แบ่งพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 2 เขต รวมทั้งสิ้น 8 โซน ดำเนินการในวันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ดังนี้ ในเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 4 โซน ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนวังดิน ชุมชนแควหวาย และชุมชนฝั่งหมิ่น (ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ สำหรับการล้างทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชนมุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง/ทำความสะอาดบ้านเรือนด้วยตนเองไม่ได้ เป็นลำดับแรก (เช่น ผู้สูงอายุ/บุคคลทุพพลภาพ/ผู้พิการที่อยู่เพียงลำพัง ผู้มีภาวะร่างกายอ่อนแอ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ และผู้ยากไร้ เป็นต้น) /จ.ชร. กำหนด D-Day ทำความสะอาดเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย (ครั้งใหญ่) ในวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ย. 67 โดยแบ่งโซนดังนี้ โซนที่ 1 ชุมชนป่าแดง โซนที่ 2 ชุมชนวังดินโซนที่ 3 ชุมชนแควหวาย โซนที่ 4 ชุมชนฝั่งหมิ่น

นอกเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 4 โซน ได้แก่ ต.ดอยฮาง ต.แม่ยาว ต.ริมกก และ ต.รอบเวียง(บ้านป่ายางมน หมู่ที่ 5)

อำเภอแม่สาย แบ่งพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 5 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 หัวฝาย – สายลมจอย โซนที่ 2 เกาะทรายโซนที่ 3 เหมืองแดง โซนที่ 4 ไม้ลุงขน

โซนที่ 5 ปิยะพร

– รับสนับสนุนเครื่องจักรกลจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน นอกพื้นที่ และใช้กำลังพลจากอำเภอที่ไม่ประสบอุทกภัย หน่วยงานและประชาชนจิตอาสาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

– ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ. จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ

– ให้หน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดชุดปฏิบัติการ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อติดตามสถานการณ์โรคที่อาจมากับน้ำท่วม และเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย พร้อมทั้งให้จัดสรรยารักษาน้ำกัดเท้า ยากันยุง ยาแก้คัน และยารักษาโรคผิวหนัง เพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์เดิมที่เคยแจกจ่าย เนื่องจากประชาชนมีความต้องการเป็นอย่างมาก

– ให้ตำรวจและหน่วยงานด้านความมั่นคงสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมยและอาชญากรรม

– แนวโน้มสถานการณ์ มีฝนเล็กน้อย – ปานกลางในบางพื้นที่ของังหวัด ระดับน้ำลาวสูงขึ้น / ระดับน้ำสายทรงตัวสูง ต้องเฝ้าระวัง / น้ำกก/น้ำโขง ระดับทรงตัว (ไม่เกินระดับวิกฤติ)

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ภาพ/ข่าว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ครม. เห็นชอบงดเก็บค่าไฟฟ้า ก.ย. และ ต.ค. ลด 30% พื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมอนุมัติฟื้นฟูช่วยเหลือลูกหนี้ ธ.ก.ส. ระยะที่ 2 – 3
ประมวลภาพอุทกภัยและดินถล่ม ความเสียหายหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ทั้งบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร
จังหวัดเชียงราย เกิดฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 67 เป็นต้นมา เกิดอุทกภัยและดินถล่ม ส่งผลกระทบ 10 อำเภอ 29 ตำบล 192 หมู่บ้าน
2 ส.ค. | จังหวัดเชียงราย สถานการณ์น้ำ ในแม่น้ำสายเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากฝนที่ตกติดต่อมาหลายวัน ชาวบ้านต่างเตรียมความพร้อมขนสิ่งของไว้ที่ปลอดภัย
เชียงราย น้ำคำแม่จันเซาะคันดินน้ำทะลักเข้าท่วม 30 หลังคาเรือน ส่วนพื้นที่ อ.พาน สลดจมน้ำดับ 2 ราย
7-11 มิ.ย.นี้ | เตือนพื้นที่ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ระวังน้ำป่าไหลหลาก ท่วมขัง ฟ้าฝนกันโชกแรง