ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมาร์
.


ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว และ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล ได้แก่ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนได้ทันที
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยพบว่ามีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวได้น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว คือการติดตามข่าวสารด้านภัยธรรมชาติอยู่เสมอๆ เพื่อรับข้อมูลได้รวดเร็ว หากเกิดเหตุขึ้นก็จะสามารถเตรียมตัวอพยพได้ทันท่วงที
ภาพ/ข่าว : กรมอุตุนิยมวิทยา
วันนี้ ( 28 มี.ค.68) เวลา 13:20 น. ตามเวลาประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหว ประเทศเมียนมา ขนาด 7.7 ลึก 10 กม. ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม.
รอยเลื่อนสะกายคืออะไร?
รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งคำว่า Sagaing Fault สมัยก่อนคนไทยเคยอ่าน “รอยเลื่อนสะเกียง” ต่างชาติอ่าน “รอยเลื่อนสะแกง” ต่อมาชาวเมียนมาบอกว่า บ้านเขาเรียกว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ทุกวันนี้จึงสรุปเรียกให้ตรงกันว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ตามเจ้าของพื้นที่
จากบทความ รอยเลื่อนสะกาย-ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า โดย สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) แปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม ประเมินเกี่ยวกับรอยเลื่อนสะกายไว้ ดังนี้
รอยเลื่อนสะกาย มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญของเมียนมา เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) ทั้งยังยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน ตลอดแนวรอยเลื่อนสะกาย พบภูมิประเทศที่แสดงถึงการปริแตกของเปลือกโลกอยู่หลายแบบ เช่น ผารอยเลื่อน (fault scarp) เนินเขาขวาง (shutter ridge) หนองน้ำยุบตัว (sag pond) ทางน้ำหัวขาด (beheaded stream) และทางน้ำหักงอ (offset stream) ซึ่งภูมิประเทศเหล่านี้ช่วยยืนยันว่า รอยเลื่อนสะกายมีการเลื่อนตัวแบบเหลื่อมข้างชนิดขวาเข้า (dextral strike-slip fault)
ขณะที่ รศ.ภาสกร ปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนสะกายปลดปล่อยพลังงานในรอบหลาย 10 ปีของเมียนมา คาดการณ์ว่าจะเกิดความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งโดยปกติหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง สามารถเกิดอาฟเตอร์ตามมาได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ยาว 1,000 กิโลเมตร
ข่าว : อีจีน
.
การปฏิบัติตนหลังเกิดแผ่นดินไหว

.
ข้อควรปฏิบัติเมือ่เกิดแผ่นดินไหว

ภาพ/ข้อมูล กรมอุตุนิยมวิทยา , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , อีจีน