แจ้งเตือนภัย พายุฤดูร้อน บริเวณประเทศไทยตอนบน ระหว่าง 28 เม.ย -2 พ.ค 65

๑. ด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย (กอปภ.จ.ชร) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศฉบับที่ ๑ (๗๙/๒๕๖๕) ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา 0๕.00 น. แจ้งว่าในช่วงวันที่ ๒๘ เม.ย. – ๒ พ.ศ. ๒๕’๖๕ ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ ๑ – ๒ พ.ค.๖๕ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

๒. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ และลดผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ระหว่างวันที่ ๒๘ เม.ย. – ๒ พ.ค. ๒๕๖๕ จึงขอให้ดำเนินการดังนี้

๒.๑ แจ้งเตือนประซาชนในพื้นที่ให้รับทราบ และติดตามข้อมูลสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเสี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่วนบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโขกแรงและฟ้าผ่าได้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

๒.๒ ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน ๑๗๘๔ หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ ๑๗๘๔” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๒.๓ หากเกิดสถานการณ์สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย (กอปภ.จ.ชร.) ทราบทันที ทางโทรศัพท์หมายเลข 0-๕๓๑๗-๗๓๑๘-๒๓ และรายงานทุกระยะจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด

๓. จึงเรียนมาเพื่อทราบ และดำเนินการ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ประมวลภาพอุทกภัยและดินถล่ม ความเสียหายหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ทั้งบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร
จังหวัดเชียงราย เกิดฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 67 เป็นต้นมา เกิดอุทกภัยและดินถล่ม ส่งผลกระทบ 10 อำเภอ 29 ตำบล 192 หมู่บ้าน
2 ส.ค. | จังหวัดเชียงราย สถานการณ์น้ำ ในแม่น้ำสายเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากฝนที่ตกติดต่อมาหลายวัน ชาวบ้านต่างเตรียมความพร้อมขนสิ่งของไว้ที่ปลอดภัย
เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน ปี 2567
กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือ ช่วง 3-7 พ.ค.2567
10 อันดับอุณหภูมิสูงสุดประจำฤดูร้อน 2567